Tuesday, August 23, 2005

"ศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านจากการทำขนม"(3)



ในที่สุดหลังจาก ห่อ....มัด......หยอด......นึ่ง........จนสุก(รึเปล่า)

ศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านโดยการทำขนม(2)





แล้วจึงออกมาเป็น ข้าวต้มมัด(จริงๆด้วย)
นอกจากห่อข้าวต้มมัดแล้วก็ยังมีกลุ่มทำขนมตาล..เฮ้อ เห็นมะรุมมะตุ้มกันอย่างนี้จะออกมาเป็นยังไงหนอ

Sunday, August 21, 2005

"ศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านจากการทำขนม"(3)



ในที่สุดหลังจาก ห่อ....มัด......หยอด......นึ่ง........จนสุก(รึเปล่า)

ศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านโดยการทำขนม








นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เลือกเรียนวิชาเพิ่มเติม ส 40209 วัฒนธรรมพื้นบ้านไทยอีสาน ได้ปฏิบัติจริงด้วยการทำขนมพื้นบ้านที่ชาวอีสานมักจะทำเนื่องในบุญงานต่างๆ เริ่มตั้งแต่การก่อไฟ
จากนั้นก็เริ่มปกิบัติการ "ห่อข้าวต้มมัด"

12 สิงหา 2548 "คัดเลือกลูกดีเด่น

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคมคณะกรรมการคัดเลือกลูกดีเด่น ได้ประชุมพิจารณาคัดเลือกลูกดีเด่นจากการคัดเลือกของครูที่ปรึกษา ปรากฏผลการคัดเลือกดังนี้
ระดับช่วงชั้นที่ 4 ได้แก่ นางสาวอนุสา บุญภูมิ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6
ระดับช่วงชั้นที่ 3 ได้แก่ เด็กชายคิมหันต์ เตชะนอก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

6 ปีปฎิรูปการศึกษา

ผลจากการติดตามการปฏิรูปการศึกษาในรอบ 6 ปี เนื่องในวาระครบรอบ 6 ปีการประกาศใช้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งนำเสนอผลการประเมินความก้าวหน้าการปฏิรูปการศึกษาโดย 3 หน่วยงานหลัก อันประกอบด้วย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และกลุ่มผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่สรุปผลไปในแนวทางสอดรับกันว่า "ยังย่ำอยู่กับที่"
เป็นผลลัพธ์ที่ออกมาชนิดไม่ได้สร้างความแปลกประหลาดใจให้กับผู้คนที่ติดตามความคืบหน้าในการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการเท่าใดนัก เพราะต่างรับรู้รับทราบกันมาโดยตลอดถึงความล้มเหลวที่เกิดขึ้น และต่างเคยตั้งความหวังกับรัฐมนตรีว่าการศธ. คนแล้วคนเล่า กระทั่งมาถึงคนล่าสุดคือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง
ทั้งนี้ สำหรับผลการประเมินของ สกศ. ระบุชัดเจนในการประเมินผลทั้ง 5 ด้าน
1.การปฏิรูปด้านสิทธิและโอกาสทางการศึกษา มีแนวโน้มดีขึ้น แต่เป็นไปในอัตราปกติ ไม่ใช่อัตราเร่งตามที่ควรจะเป็น สังเกตจากที่รัฐบาลตั้งเป้าให้ประชาชนทุกคนมีการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษา แต่ผลการดำเนินงานพบว่าจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 0.2 เท่านั้น ดังนั้น การจะให้จำนวนปีการศึกษาโดยเฉลี่ยของประชากรเป็น 9.5 ปี ในปี 2551 ตามนโยบายรัฐบาล ยังจะต้องเร่งดำเนินการในอัตราเร่งกว่าปกติอย่างมาก
2.การปฏิรูปด้านการเรียนรู้ พบว่าจากค่าเฉลี่ยของผลการสอบระดับชาติระดับ ป.6 ระดับ ม.3 และระดับ ม.6 รวมถึงคะแนนเฉลี่ยผลการสอบ TOFEL ผลสัมฤทธิ์ยังต่ำ ความสามารถทางการคิดคำนวณและการคิดวิเคราะห์ยังต้องปรับปรุง สาเหตุเพราะหลักสูตรยังไม่ชัดเจน ไม่เชื่อมโยง ครูยังกังวลกับการสอนเนื้อหาให้ครบ ในขณะที่กระบวนการเรียนที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์กลับถูกลดความสำคัญลง อีกทั้งความยืดหยุ่นหลากหลายของหลักสูตรเพื่อตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความต้องการพิเศษยังเกิดขึ้นน้อย
3.การปฏิรูปด้านการผลิตและพัฒนาครู ยังไม่ชัดเจน ยังไม่มีคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยระบบกระบวนการผลิตและวางแผนพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา จึงส่งผลให้การดำเนินงานไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร
4.การปฏิรูปด้านการบริหารจัดการ ในระดับส่วนกลางยังไม่ลงตัวในการจัดโครงสร้างองค์กรบางหน่วยงาน เช่น ในส่วนของการศึกษาเอกชน การศึกษานอกโรงเรียน ส่งผลกระทบถึงภารกิจในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และการแบ่งภารกิจของหน่วยงานส่วนกลางบางส่วนยังไม่เอื้อต่อการดำเนินการตามภารกิจที่กำหนดไว้ กลไกลประสานงานระหว่างหน่วยนโยบายกับหน่วยปฏิบัติยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ทำให้การประสานงานและการช่วยเหลือสถานศึกษา รวมถึงความใกล้ชิดกับชุมชนยังมีน้อยกว่าที่ผ่านมา ทั้งยังไม่ลงตัวในการบรรจุคนลงกับงานตามเขตพื้นที่การศึกษาต่างๆ ส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่เขตในเมือง นอกจากนี้ ส่วนกลางกระจายอำนาจให้แก่โรงเรียนยังไม่เต็มที่ สถานศึกษาจึงยังขาดความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ
5.การปฏิรูปด้านการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา ขององค์กรต่างๆ ยังมีน้อยมาก โดยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคเอกชนมีส่วนร่วมเพียงร้อยละ 16 ในปี 2547 ระดับอุดมศึกษา ภาคเอกชนมีส่วนร่วมเพียงร้อยละ 20 ในปี 2547 ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังมีส่วนร่วมร้อยละ 10.88 ในปี 2547 ที่สำคัญประชาชนทั่วไปยังไม่รู้จักการศึกษารูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น จนมีผลให้เกิดกรณีมีผู้ล่อลวงนักเรียนและผู้ปกครอง
ในผลการประเมินของ สมศ. เป็นผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยได้ประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา 17,562 แห่งทั่วประเทศ คิดเป็นร้อยละ 49.1 ของสถานศึกษาทั่วประเทศ พบว่าการจัดการเรียนการสอนของครูที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ยังมีคุณภาพอยู่ในระดับเพียงร้อยละ 39.2 ของสถานศึกษาทั้งหมด การจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ มีคุณภาพอยู่ในระดับเพียงร้อยละ 13.5 และครูสามารถนำผลการประเมินมาปรับการเรียนและเปลี่ยนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพเพียงร้อยละ 21.6 ของสถานศึกษาทั้งหมด
การประเมินคุณภาพทางด้านผู้เรียนพบว่า ยังมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับต่ำมากในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ ร้อยละ 2.5 ของสถานศึกษาทั้งหมด วิทยาศาสตร์ ร้อยละ 3.3 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ร้อยละ 3.5 ภาษาไทย ร้อยละ 3.8 ศิลปะร้อยละ 6.2 สุขศึกษาและพลศึกษา ร้อยละ 14.5 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ร้อยละ 18.5 และวิชาภาษาต่างประเทศ ร้อยละ 47.6 โดยเฉพาะความสามารถของผู้เรียนในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ และความคิดสร้างสรรค์ มีคุณภาพระดับดีเพียงร้อยละ 11.1 และการมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพระดับดีเพียงร้อยละ 26.5 ของสถานศึกษาทั้งหมด
ส่วนผลการประเมินของผู้ตรวจราชการ ศธ. พบว่าในด้านโครงสร้างการบริหารการศึกษาในส่วนกลาง ยังขาดการประสานเชื่อมโยงนโยบายและยุทธศาสตร์ ส่วนภูมิภาคพบว่าผู้แทนกระทรวงในจังหวัดยังไม่ชัดเจน การกระจายหรือมอบอำนาจไปที่เขตพื้นที่การศึกษายังไม่เป็นไปตามกฎหมาย ที่สำคัญครูจำนวนมากยังสอนแบบเดิม ขาดความรู้ในเนื้อหาวิชาและทักษะการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะครูในโรงเรียนขนาดเล็กขาดโอกาสพัฒนามาก เพราะไม่สามารถทิ้งห้องเรียนได้ ด้านระบบการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลยังไม่เข้มแข็ง และยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1305

Sunday, July 24, 2005

ปลัด ศธ.ชี้คนไทยด้อยการศึกษา

ปลัด ศธ.ชี้คนไทยด้อยการศึกษา
โดย ผู้จัดการออนไลน์
24 กรกฎาคม 2548 12:09 น.
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ชี้คนไทยเรียนการศึกษาภาคบังคับน้อยกว่าหลายประเทศในเอเชียด้วยกัน เฉลี่ยเพียง 8.1 ปี แนะนำหลักธรรมะมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อทำตนให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข รวมทั้งควรเอื้อเฟื้อกันทางสติปัญญาเพื่อยกให้คนในสังคมมีความรู้ และส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศโดยรวม
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน “สังคมแห่งการเรียนรู้ เชิดชูพุทธศาสนา พัฒนางานการศึกษานอกโรงเรียน” ซึ่งจัดขึ้นที่หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีนักศึกษานอกโรงเรียนเข้าร่วมงานราว 5,000 คน โดยการจัดงานครั้งนี้เพื่อให้นักศึกษานอกโรงเรียนได้เข้าใจว่าการเรียนรู้ทำได้ตลอดเวลาและตลอดชีวิต และนำหลักธรรมของพุทธศาสนามาบูรณาการกับการเรียนรู้เพื่อให้มีการพัฒนาให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งกายใจ มีคุณธรรม จริยธรรม อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ท่ามกลางกระแสความเจริญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมีหน่วยงานในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) มาจัดแสดงกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ประชาชนและนักศึกษาที่มาร่วมงานได้เรียนรู้
คุณหญิงกษมา ได้กล่าวในหัวข้อ “ทำอย่างไรให้เราเป็นคนเก่ง เป็นคนดี และมีความสุขได้” โดยได้เปรียบเทียบว่าคนไทยเรียนการศึกษาภาคบังคับเฉลี่ยเพียง 8.1 ปี ถือว่ายังน้อย เมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียด้วยกัน เช่น เกาหลีใต้ เวียดนาม ที่เรียนการศึกษาภาคบังคับ 9.5 ปี ซึ่งนักศึกษานอกโรงเรียนทุกคนถือเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จมากกว่า 1 ด้าน เนื่องจากเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย ระบบการศึกษานอกโรงเรียนไม่ใช่ระบบแพ้คัดออก แต่เป็นระบบประคับประคองให้ทุกคนเรียนสำเร็จให้ได้ ถือว่าเป็นระบบการศึกษาที่ทำให้คนในสังคมทุกคนเท่าเทียมกัน
สำหรับสิ่งง่ายๆ ที่ทำให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขได้ก็คือ การนำหลักธรรมมาปฏิบัติกับกิจกรรมประจำวัน ละเว้นความชั่ว หรือการรักษาศีล 5 ส่วนการเล่นอินเทอร์เน็ตควรหลีกเลี่ยงเว็บที่ไม่เหมาะสม เว็บลามก ควรดูเว็บเพื่อการศึกษาให้ความรู้ พ่อแม่ผู้ปกครองเองไม่ควรคิดว่าการสอนลูกให้เป็นคนดีนั้นจะทำให้เสียเปรียบผู้อื่น เพราะผลดีที่ได้จะรับแม้จะช้าแต่เป็นผลดีต่อลูกแน่นอน ตรงกันข้ามการทำกรรมชั่วผลกรรมจะตามมาในระยะอันสั้น
คุณหญิงกษมา กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ควรฝึกให้รู้จักการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ทางสติปัญญา เป็นการฝึกให้คนใช้สติปัญญาช่วยเหลือกัน ซึ่งจะส่งผลต่อการช่วยเหลือสังคมและพัฒนาประเทศชาติโดยรวม โดยมีข้อมูลคนไทยเมื่อปีที่แล้วจดสิทธิบัตรทางปัญญาเพียง 65 ชิ้นเท่านั้น ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอินเดียที่จดนับพันชิ้น และสหรัฐจดสิทธิบัตรถึง 80,000 ชิ้นต่อปี รวมทั้งต้องมีความสมานฉันท์ ใช้หลักธรรมในการคบเพื่อน เพื่อนที่ดี 1 คน ดีกว่ามีเพื่อนไม่ดีนับร้อยนับพัน ที่คอยปอกลอก ประจบ

Sunday, May 08, 2005

กฎมนุษย์มีสุข 7 ข้อของฝากจากนายกฯ

นายกฯ ฝากกฎมนุษย์มีสุข 7 ข้อ ในรายการ“นายกฯ ทักษิณ คุยกับประชาชน” เพื่อทำให้ตัวเองมีและส่งผลให้ประเทศชาติมีสุขด้วย

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “นายกฯ ทักษิณ คุยกับประชาชน” ว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ได้เล่าให้คณะรัฐมนตรีฟังว่า มีกฎที่เรียกว่า 7 ข้อ เพื่อทำให้มนุษย์มีความสุข
กฎข้อแรก คือ ปล่อยหัวใจให้ออกจากความเกลียด อย่าไปเกลียดอย่างนั้นเกลียดอย่างนี้ ยิ่งเกลียดก็ยิ่งเกิดอารมณ์เครียดกับตัวเอง เพราะฉะนั้นอย่าไปเกลียด ปล่อยหัวใจให้ว่างเว้นจากการเกลียดชัง
ข้อ 2.ปล่อยจิตที่กังวลให้หลุดพ้นจากความกังวล คืออย่าไปกังวลเรื่องนั้นกังวลเรื่องนี้ กังวลก็ทุกข์ เครียด เมื่อเครียดปัญญาหายหมด คิดอะไรไม่ออก
ข้อ 3.พยายามใช้ชีวิตที่เรียบง่าย อย่าให้ชีวิตเป็นนายเรา
ข้อ 4.คาดหวัง น้อย ๆ อย่าไปคาดหวังว่าอยากได้นั่น อยากได้นี่ คาดหวังมากก็เกิดทุกข์
ข้อ 5.หัดเป็นคนเสียสละให้มาก Give More
ข้อ 6.พยายามยิ้มเข้าไว้ จะได้ทุกข์น้อย ๆ
ข้อที่ 7.ตนพูดเป็นเรื่องเล่น ๆ สนุก ๆ เช่นว่า “เชื่อผมเถอะ ทำทั้ง 6 ข้อข้างบนนั้น เป็น 6 ข้อที่จะทำให้เรามีความสุข ถ้าเราทำได้ เราก็มีความสุขจริงๆ”

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนพูดเรื่องนี้ เพื่อเอามาพูดบวกกับเรื่องของการตั้งสัจจะอธิษฐาน เราจะได้ทำให้ชีวิตของเราดีขึ้น คนรอบข้างมีความสุข เมื่อคนรอบข้างมีความสุขก็จะเป็นกำลังให้แก่กันและกัน ก็เกิดพลังในการที่จะต่อสู้กับชีวิต ในการที่จะสร้างอนาคตที่ดีได้ อันนี้เป็นประโยชน์แก่ตัวทุก ๆ คน เมื่อเป็นประโยชน์กับทุกคนแล้ว รวมกันแล้วก็กลายเป็นประโยชน์ต่อสังคม สังคมก็คือประเทศนั่นเอง อันนี้เราจะทำถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันที่พระองค์พระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ในอีก 3 ปีข้างหน้า แต่เราจะทำปีละ 1 สัจจะ ขอฝากเพื่อประโยชน์แก่ทุก ๆ คน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 พฤษภาคม 2548 11:05 น.

Tuesday, December 28, 2004

“อดิศัย” เชื่อ 3 พ.ร.บ.ช่วยชีวิตครูดีขึ้น


“อดิศัย” เชื่อ 3 พ.ร.บ.ครูจะช่วยให้การบริหารงานบุคคลชัดเจนและช่วยให้ชีวิตครูดีขึ้น เพราะมีกฎหมายเงินเดือนเป็นของตัวเอง ขณะเดียวกันลงนามค่าธรรมเนียมออกใบประกอบวิชาชีพครูแล้วที่ 500 บาท

นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แถลงข่าวในโอกาสที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ร.บ.ว่าด้วยเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และ พ.ร.บ.ว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ววานนี้ ว่า กฎหมายที่ออกเป็นกฎหมายสำคัญสำหรับการบริหารงานบุคคล ซึ่งก่อนหน้านี้บริหารตามกฎหมายเก่าไป หลังจากนี้คงมีความชัดเจนมากขึ้น และระยะเวลาที่เหลือของรัฐบาลนี้น่าจะยังดำเนินการตามกฎหมายทั้ง 3 ฉบับได้มากพอสมควร เช่น ตั้งคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ชั่วคราว และแต่งตั้ง อ.ก.ค.ศ.ของเขตพื้นที่การศึกษา

ส่วนครูและบุคลากรทางการศึกษาก็จะไม่มีซีแล้วและทยอยเข้าสู่ 6 แท่งใหม่ตามโครงสร้าง ซึ่งกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งเฉพาะ จะทำให้ครูมีรายได้ที่เพียงพอและเหมาะสมกับฐานะทางสังคมและวิชาชีพของตน ซึ่งจะสามารถกำหนดเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งให้สอดคล้องและเหมาะสมกับตำแหน่งและวิทยฐานะที่ ก.ค.ศ.กำหนดไว้

นายอดิศัย กล่าวด้วยว่า ได้ลงนามในประกาศค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแล้ว โดยเป็นไปตามที่คุรุสภาเสนอจำนวน 500 บาท แต่การจ่ายค่าธรรมเนียมนั้นคุรุสภาจะมีวิธีการช่วยเหลือครูอย่างไรก็ได้ หรือเมื่อครูผ่านการประเมินแล้วได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแล้วก็ให้ส่งให้ ก.ค.ศ.เพื่อรับรองได้ก่อนไม่รอจ่ายค่าธรรมเนียม

ทั้งนี้ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครู กำหนดให้ครูรับเงินเดือนใน 6 แท่ง คือครูผู้ช่วย ครู และบุคลากรทางการศึกษา (คศ.) 1 คศ.2 คศ.3 คศ.4 ละคศ.5 ซึ่งแต่ละแท่งมีขั้นเงินเดือนเริ่มต้นและสูงสุดเป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนที่กำหนดไว้ท้ายกฎหมาย นอกจากนี้ ยังได้กำหนดวิทยฐานะไว้โดยให้วิทยฐานะชำนาญการได้รับ 3,500 บาท วิทยฐานะชำนาญการพิเศษได้รับ 5,600 บาท วิทยาฐานะเชี่ยวชาญ ได้รับ 9,900 บาท และวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษได้รับ 13,000 บาท



จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9470000101933
เวลา 28 ธันวาคม 2547 16:33 น.
ผู้จัดการออนไลน์ - Manager Online (http://www.manager.co.th)

Wednesday, September 15, 2004

สำรวจพบข้าราชการไทยมีทักษะไอซีทีต่ำกว่ามาตรฐาน

สำรวจพบข้าราชการไทยมีทักษะไอซีทีต่ำกว่ามาตรฐาน
กรุงเทพฯ 14 ก.ย.- ผลสำรวจพบข้าราชาการไทยส่วนใหญ่ขาดทักษะการใช้ไอซีที ชี้เป็นอุปสรรคต่อโครงการอี-กัฟเวอร์เมนท์ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านไอซีทีในองค์กรยังขาดการโปรโมทอย่างถูกช่องทาง ทำให้ขาดแรงจูงใจในการพัฒนาตัวเอง

คณะนักวิจัยจากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เผยแพร่ผลการศึกษาแนวทางพัฒนาความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของข้าราชการไทย พบว่าทักษะการใช้ไอซีทีของข้าราชการไทยยังต่ำกว่าระดับที่ส่วนราชการต้องการ โดยเฉพาะทักษะทางด้านการใช้โปรแกรมฐานข้อมูล (Database) โปรแกรมการนำเสนองาน (Presentation) ทักษะไอซีทีด้านข้อมูลข่าวสาร (ICT Information Skills) และทักษะการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน (Basic ICT Skills) เช่น การแก้ปัญหา การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ และการรักษาความปลอดภัย (Security) โดยพบว่ามีเพียงทักษะด้านการใช้ไมโครซอฟท์เวิร์ดเท่านั้นที่มีระดับสูงน่าพอใจ จึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากการปฏิรูประบบทำงานใหม่ของราชการให้ต้องมีการใช้คอมพิวเตอร์ ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่จะสนองนโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-กัฟเวอร์เมนท์

ทั้งนี้ คณะวิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามข้าราชการไทยในระดับผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวน 1,900 ชุด จากนั้นใช้ข้อมูลจากประเทศอังกฤษ สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนอ้างอิง เมื่อประมวลผล ซึ่งยังทำให้พบว่าข้าราชการไทยส่วนใหญ่ยังขาดแม้แต่ทักษะการใช้อีเมล โดยส่วนใหญ่มีเพียงทักษะแค่การรับอีเมลเท่านั้น ส่วนการส่งเมลที่ต้องแนบไฟล์ยังต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ซึ่งถือเป็นอุปสรรคต่อการทำงานด้วยระบบออนไลน์ของราชการไทยในอนาคต

นอกจากนี้ คณะวิจัยยังได้สำรวจทักษะของบุคลาการด้านไอซีทีของหน่วยราชการไทย พบว่าร้อยละ 80 ของบุคลากรด้านนี้ต้องทำงานสนับสนุนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในองค์กร ส่วนการพัฒนาไอซีทีเองนั้น ทำเพียงแค่การปรับปรุงงานที่ได้จากการว่างจ้าง (เอาท์ซอร์ส) ให้น่าสนใจขึ้นเท่านั้น และพบว่าบุคลากรไอซีที 1 คน ต้องทำงานหลากหลายชนิดในแต่ละวัน ในขณะที่งานด้านดูแลและพัฒนาเว็บไซต์นั้นถือว่าเป็นงานที่อยู่ในระดับน่าพึงพอใจของบุคลากรด้านนี้ ซึ่งพวกเขาต่างมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม ยังพบปัญหาที่ทำให้บุคลากรด้านไอซีทีในหน่วยราชการพัฒนาได้ช้า ประกอบด้วย ค่าตอบแทนและความก้าวหน้าไม่จูงใจ การทำงานหลากหลายชนิดในแต่ละวันทำให้รู้สึกท้อแท้ และการเอาท์ซอร์สมากขึ้นทำให้ข้าราชการขาดการพัฒนาความรู้ อีกทั้งยังพบว่าบุคลากรที่มีความสามารถด้านไอซีทีบางส่วน ไม่ได้มีตำแหน่งหน้าที่โดยตรง ดังนั้น จึงไม่ได้ปรับการประเมินผลงานตามจริง ซึ่งคณะวิจัยได้เสนอแนะว่าหน่วยงานต่าง ๆ ควรโปรโมทบุคลากรด้านไอซีทีให้ถูกต้องกับตำแหน่ง และเมื่อมีระดับการทำงานที่สูงขึ้น ควรเปิดโอกาสให้ย้ายหน่วยงานไปสู่ระดับบริหารได้

ทั้งนี้ การวิจัยดังกล่าวอยู่ภายใต้การว่าจ้างโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค โดยมีจุดประสงค์ที่จะนำมาพัฒนาและปรับปรุงการทำงานด้านไอซีทีของข้าราชการไทยให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น. –สำนักข่าวไทย





15 กันยายน 2547

Monday, September 06, 2004

ทัศนศึกษาอุทยานประวัติศาตร์และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

รายงานผลการไปทัศนศึกษาโครงการเรียนรู้สู่โลกกว้างศูนย์เครือข่าย หนองไผ่-โนนสำราญ

ข้าพเจ้า นางสาวประนอม จงจิตต์ และนางสาวนงลักษณ์ รักษ์มณี เดินทางไปร่วมทัศนศึกษาตามโครงการเรียนรู้สู่โลกกว้างศูนย์เครือข่าย หนองไผ่-โนนสำราญ จุดที่ 1 ที่ทางศูนย์เครือข่าย หนองไผ่ – โนนสำราญ นำนักเรียนเข้าเยี่ยมชมทัศนศึกษา คือ อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอยุธยา

รูปที่ 1 คณะทัศนศึกษากำลังรับฟังการบรรยายของ
อาจารย์จากสถาบันราชภัฎอยุธยา


รูปที่ 2 คณะครู – อาจารย์และนักเรียนจากโรงเรียนหนองแหนดอนกู่

รูปที่ 4 – 5 ตัวแทนของโรงเรียนหนองไผ่วิทยานุสรณ์กับสถานที่ต่าง ๆ ที่อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา





เมื่อเสร็จสิ้นจากการทัศนศึกษาที่อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยาแล้ว ศูนย์เครือข่ายก็นำนักเรียนไปทัศนศึกษาต่อยังจุดที่ 2 คือ พิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์ ( Science Museum ) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ( อพวช. ) National Science Museum ( N S M ) โดยทาง อพวช. ได้นำนักเรียนเข้าเยี่ยมชมที่ตึกลูกเต๋า โดยมีคำขวัญว่า เรียนรู้วิทยาศาสตร์ในบรรยากาศที่แปลกใหม่ ทันสมัยเพลิดเพลินกับการทดลอง ค้นพบด้วยตนเอง โดยภายในตึกลูกเต๋า ประกอบด้วยส่วนที่แสดงนิทรรศการต่าง ๆ ดังนี้
ชั้นที่ 1 ส่วนต้อนรับแนะนำการเข้าชม รู้จักนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกสาขาต่าง ๆ ท่องโลกอินเทอร์เน็ตและนิทรรศการหมุนเวียน
ชั้นที่ 2 รากฐานของวิทยาศาสตร์ ประวัติการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ วิสัยทัศน์ของนักวิทยาศาสตร์เอกของโลกและโลกที่เปราะบาง
ชั้นที่ 3 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ค้นพบและเรียนรู้ด้วยตนเองในฐานปฏิบัติการไฟฟ้า แม่เหล็ก ความร้อน แสง เสียง แรง และการเคลื่อนที่ คณิตศาสตร์และพลังงาน
ชั้นที่ 4 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย ลักษณะทางภูมิอากาศ ธรณีวิทยา นิเวศวิทยา การผลิตด้านการเกษตรและเทคโนโลยีการก่อสร้าง
ชั้นที่ 5 วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน เรียนรู้ร่างกาย และสุขภาพ การคมนาคม สิ่งแวดล้อม บ้าน สำนักงาน และวิสัยทัศน์ต่ออนาคต
ชั้นที่ 6 เทคโนโลยีภูมิปัญญาไทยในงานหัตถศิลป์ ประเภทงานแกะสลัก จักสาน โลหะ เครื่องปั้นดินเผา เส้นใยและสิ่งทอ
ตึกลุกเต๋าเป็นส่วนที่ 1 ที่นักเรียนเข้าเยี่ยมชม จากนั้น นักเรียนก็เข้าไปเรียนรู้ที่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา นักเรียนได้ตื่นตาตื่นใจกับเทคนิคด้านการจัดนิทรรศการรูปแบบใหม่ที่ทันสมัย สัมผัสและเข้าใจลึกซึ้งกับความหลากหลายทางธรรมชาติของประเทศไทยเป็นครั้งแรก ศึกษาการกำเนิดของสิ่งมีชีวิต เรียนรู้วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ค้นพบความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน สนุกกับกิจกรรมด้านธรรมชาติวิทยา พร้อมการแสดงทางวิทยาศาสตร์และสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจมากมาย
รูปที่ 6 นักเรียนกำลังศึกษา ทำความรู้จักกับลูซี่ ญาติสนิทของเราที่พลัดพรากกันมากกว่า 3 ล้านปี



รูปที่ 7 - 8 นิทรรศการต่าง ๆ ภายในตึกลูกเต๋า















รูปที่ 9 – 12 เยี่ยมชมนิทรรศการต่าง ๆ ภายในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา







วันหน้าจะPost รูปมาให้ดูนะคะ (ขอไปแต่งรูปให้สวยน้อยลงก่อนค่ะ)


*****************************************